พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542

กลุ่มกฎหมายและจริยธรรม  โทร. 02 965 9372

✉✉✉✉✉ ------------------------------ ✉✉✉✉✉

☀ การจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล
1. เป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอจดสิทธิแสดงความเป็นเจ้าของในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย (ตำรับยาและตำรากรแพทย์แผนไทย)
มิใช่การขอขึ้นทะเบียนยาเพื่อผลิต และจำหน่าย
2. การยื่นคำร้องขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล        
    2.1 หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แก่         
          2.1.1  กองคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยฯ ส่วนภูมิภาค         
          2.1.2 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด 76 จังหวัด   
    2.2 ขั้นตอนการพิจารณา         
          2.2.1 คณะทำงานพิจารณา         
          2.2.2 คณะอนุกรรมการพิจารณา                                                            
          2.2.3 เสนออธิบดีพิจารณาลงนาม   
    2.3 ระยะเวลาการคุ้มครองสิทธิ ตลอดอายุของผู้เป็นเจ้าของ+50 ปีหลังจากเสียชีวิต
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ สมุนไพรควบคุม (กวาวเครือ)
1. ปัจจุบันมีประกาศกระทรวงเรื่องสมุนไพรควบคุมได้แก่ กวาวเครือ
2. ผู้ใดต้องการขนย้าย หรือครอบครองกวาวเครือนอกเหนือจากเงื่อนไขในประกาศให้ทำการแจ้งนายทะเบียนกลาง
และนายทะเบียนจังหวัด พร้อมเอกสารตามประกาศกำหนด
3. อยู่ระหว่างดำเนินการเพื่อประกาศสมุนไพรควบคุมเพิ่มเติม 
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ การประกาศตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติและการขอเข้าใช้ประโยชน์
1. ตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติ หมายถึงตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยมีประโยชน์หรือมีคุณค่าในทางการแพทย์
หรือการสาธารณสุขเป็นพิเศษ
2. ผู้ใดประสงค์นำตำรับยาและตำราการแพทย์แผนไทยของชาติไปใช้ประโยชน์เพื่อทางการค้า ต้องดำเนินกาเพื่อยื่นคำร้องการขอเข้าใช้ประโยชน์
และแบ่งปันผลประโยชน์ตามกฎหมายกำหนด โดยสามารถดำเนินการผ่านสำนักงานนายทะเบียนกลาง (กรมฯ)
และสำนักงานนายทะเบียนจังหวัด (สสจ.)
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ การจดสิทธิบัตร ยา และสมุนไพร
สามารถแบ่งออกเป็น 
1. การจดสิทธิบัตรยา ซึ่งต้องยื่นคำร้องการขอสิทธิบัตรไปยังกรมทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้เงื่อนไขและกฎเกณฑ์สากลในการให้สิทธิบัตร
และได้รับความคุ้มครองภายใต้พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2542 โดยมีกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
2. การขอขึ้นทะเบียนยา เป็นการขอขึ้นทะเบียนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการผลิตยา
โดยหน่วยงานผู้รับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
3. การขอจดสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยส่วนบุคคล เป็นกระบวนหนึ่งในการคุ้มครองภายใต้
พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ.2542
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ประชาชนได้อะไรจากการคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์ แผนไทย
1 การคุ้มครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย มุ่งเน้นไปที่การรักษาผลประโยชน์ของประชาชน และผู้เป็นเจ้าของ/ถือครองภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย
ซึ่งสามารถนำมาต่อยอดเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ
2. เพิ่มทางเลือกของประชาชนในการดูแลสุขภาพ และได้รับการบริการด้านสุขภาพที่นอกเหนือจากยาแผนปัจจุบัน
3. ส่งเสริมการใช้ยาสมุนไพร/ยาแผนไทย ทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันซึ่งจะช่วยลดรายจ่ายของภาครัฐ และภาระของประชาชนต่อไปด้วย
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ การจดทะเบียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 นี้แตกต่างกับการจดทะเบียนลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรอย่างไร
แตกต่างกัน ลิขสิทธิ์นั้นเป็นการคุ้มครองผู้สร้างสรรค์โดยผลของกฎหมาย ไม่ต้องจดทะเบียน สิทธิบัตรเป็นการจดทะเบียนสิทธิคุ้มครองการประดิษฐ์
หรือออกแบบขึ้นมาใหม่ แต่สิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น เป็นการจดทะเบียนเพื่อคุ้มครองสิทธิในภูมิปัญญาดั้งเดิม
ด้แก่ ตำรับยา ตำราการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้าน ที่มีอยู่มาก่อนแล้ว
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติที่มีผู้มอบให้ ผู้มอบให้จะได้รับค่าตอบแทนหรือไม่
ผู้มอบให้จะได้รับค่าตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ทั้งหมดโดยไม่ต้องให้รัฐ
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยของชาติที่มิได้มีผู้มอบให้ ใครเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทน
รัฐเป็นผู้ได้รับค่าตอบแทน
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ การขอจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยจะมีการประกาศไว้ที่ใดบ้าง
จะมีประกาศ ณ สำนักงานนายทะเบียนกลาง คือ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก
และสำนักงานนายทะเบียนจังหวัดคือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง (มาตรา 24)
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ หากบุคคลใดทราบข่าวที่ประกาศแล้วเห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าต้องทำอย่างไร
บุคคลนั้นต้องยื่นคำคัดค้านต่อนายทะเบียนพร้อมทั้งแสดงหลักฐานภายใน 60 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณา (มาตรา 29)
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ จะทราบได้อย่างไรว่าสูตรตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยซึ่งมีอยู่ทั่วไปสูตรใดจดทะเบียนแล้วหรือมีการจดทะเบียนซ้ำซ้อนหรือไม่
ตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทยที่มีการจดทะเบียนแล้ว นายทะเบียนจะรวบรวมและประกาศไว้ที่สถาบันการแพทย์แผนไทย
และสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทุกจังหวัด หากผู้ใดต้องการทราบข้อมูลก็สามารถตรวจสอบได้
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ การจดทะเบียนสิทธิตำรับยาหรือตำราการแพทย์แผนไทย หากผู้ขอจดทะเบียนประสงค์จะมาจดทะเบียนที่สำนักงานทะเบียนกลางได้หรือไม่
เจ้าของสูตรตำรับ/ตำรานั้น สามารถดำเนินการขอจดทะเบียนสิทธิที่สำนักงานทะเบียนกลาง
คือ กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงธารณสุข ได้
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ถ้ามีการขอจดทะเบียนหลายรายและตกลงกันไม่ได้จะทำอย่างไร
คู่กรณีจะต้องนำคดีไปสู่ศาลภายใน 90 วัน นับแต่สิ้นระยะเวลาที่นายทะเบียนกำหนด ถ้าไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนดเวลาดังกล่าว
นายทะเบียนก็จะยกเลิกคำขอจดทะเบียนของบุคคลเหล่านั้น (มาตรา 26)
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ผู้ทรงสิทธิในตำรับยาสามารถให้ผู้อื่นใช้สิทธิในตำรับยาได้ครั้งละกี่คน
กฎหมายไม่ได้จำกัดสิทธิดังกล่าวไว้ ผู้ทรงสิทธิจึงสามารถให้ผู้อื่นสามารถใช้สิทธิดังกล่าวได้ตามแต่จะเห็นควร
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ กรณีมีผู้ละเมิดการใช้สิทธิในตำรับยาของผู้เป็นเจ้าของ กฎหมายนี้ให้การคุ้มครองอย่างไร
ยื่นฟ้องต่อศาลและสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนความเสียหายได้
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ กรณีระงับใช้สิทธิ ผู้อื่นมาขอจดทะเบียนสิทธิซ้ำได้หรือไม่
การระงับใช้สิทธิจะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้ทรงสิทธิถูกนายทะเบียนสั่งเพิกถอนการใช้สิทธิ ตามมาตรา 37
หรือผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิและอยู่ในขั้นตอนของการสืบสวนข้อเท็จจริง
ในขั้นตอนนี้ผู้ทรงสิทธิที่ถูกคัดค้านยังคงได้รับการคุ้มครองอยู่ แต่จะต้องหยุดการดำเนินการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิทธิภูมิปัญญาที่กำลังสอบสวน
ผู้อื่นจะมาขอจดทะเบียนสิทธิซ้ำไม่ได้
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ กรณีเพิกถอนการใช้สิทธิ ผู้อื่นมีสิทธิมาขอจดทะเบียนสิทธิซ้ำกันได้หรือไม่
กรณีที่ผู้ทรงสิทธิถูกเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธินั้น มาตรา 40 กำหนดให้สามารถดำเนินการจดทะเบียนสิทธิได้ใหม่
แต่ต้องพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันที่นายทะเบียนมีคำสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนแล้ว และในช่วงระยะเวลาหนึ่งปีนั้น
กฎหมายจะคุ้มครองสิทธิที่ถูกเพิกถอนดังกล่าวไว้เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ทรงสิทธิที่ถูกเพิกถอนดำเนินการจดทะเบียนสิทธิอีกครั้งหนึ่ง
อันเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิความเป็นเจ้าของภูมิปัญญา
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ มีกรณีใดบ้างที่จะมีการเพิกถอนการจดทะเบียน
นายทะเบียนมีอำนาจที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนได้ถ้าหาก
1.) ผู้ทรงสิทธิได้ใช้สิทธิโดยขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
2.) ผู้ทรงสิทธิได้ฝ่าฝืนหรือมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขหรือข้อจำกัดที่นายทะเบียนกำหนดการรับจดทะเบียนสิทธิในภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยนั้น
3.) ผู้ทรงสิทธิได้ใช้สิทธิอันอาจก่อให้เกิดความเสื่อมเสียอย่างร้ายแรงต่อภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ได้จดทะเบียนไว้ (มาตรา 37)
---------------------------------------------------------------------------------------
☀ ผู้ใดจะขอเพิกถอนการจดทะเบียนสิทธิได้บ้าง
ผู้มีส่วนได้เสียหรือพนักงานอัยการอาจฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนได้ (มาตรา 38)
---------------------------------------------------------------------------------------